คณะวิทยาศาสตร์ ม.รามคำแหง ร่วมมือกับ วช. JSPS – JAAT และ บพข. จัดโครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย เพื่อการพัฒนาท้องถิ่นอย่างยั่งยืน
โครงการความร่วมมือระหว่างคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง กับสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.)องค์การส่งเสริมวิชาการแห่งประเทศญี่ปุ่น (JSPS) สำนักงานกรุงเทพฯ สมาคมศิษย์เก่าเจเอสพีเอส (JAAT-ประเทศไทย) แผนงานท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (บพข.) ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยี 4 กิจกรรม ให้แก่ชุมชนเมืองเก่า จังหวัดสุโขทัย
เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน 2566
นายสมชาย พุ่มธนวัฒมน์ รองนายกเทศมนตรีตำบลบ้านกล้วย กล่าวต้อนรับคณะวิทยากร และผู้เข้าร่วมกิจกรรม Prof. Dr. Yoshio Otani (ผู้อำนวยการ JSPS - กรุงเทพฯ) และคุณขวัญศิริ ชนยุทธ ผู้อำนวยการกลุ่มวิเทศสัมพันธ์ วช. กล่าวเปิดการอบรมโครงการฯ นี้
โดยมีคณะกรรมการบริหารสมาคม JAAT –ประเทศไทย และเจ้าหน้าที่ JSPS – กรุงเทพฯ ร่วมดำเนินงาน ประกอบด้วย รศ.ดร. อรสา สุกสว่าง รศ.ดร. อดิศร เสวตวิวัฒน์ ผศ.ดร.วรรณรัตน์ แซ่ชั่น ดร.พรเพ็ญ พัฒนโสภณ ดร. สุรัตน์วดี จิวะจินดา รศ.ดร. ศุภอรรจ ศิริกันทรมาศ รศ.ดร. มาฆมาส สุทธาชีพ Ms. Fukuda Toshie Ms. Oikawa Keiko และ Mr. Soratus Lertampornvit
กิจกรรมที่ดำเนินการถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีให้แก่ชุมชน เพื่อส่งเสริมการพัฒนาชุมชนในด้านต่าง ๆ ให้มีความยั่งยืน ได้แก่ (1) โครงการเกษตรคาร์บอนต่ำ ปลอดสารพิษ พิชิตความยากจน ด้วยกิจกรรมการแปลงชีวมวล เป็นพลังงานหุงต้มและไบโอชาร์ สำหรับปรับปรุงดิน โดย รศ.ดร. อรสา สุกสว่าง และ ผศ.ดร.วรรณรัตน์ แซ่ชั่น (2) โครงการยกระดับมาตรฐานการผลิตอาหารปลอดภัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวให้กับชุมชนเมืองเก่าสุโขทัย โดย รศ.ดร. อดิศร เสวตวิวัฒน์ (3) การท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (Carbon Neutral Tourism) มุ่งสู่การท่องเที่ยวปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero Tourism) โดย รศ.ดร. ธรรมศักดิ์ ยีมิน ผู้อำนวยการแผนงานท่องเที่ยวบนฐานมรดกทางธรรมชาติ การท่องเที่ยวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ บพข. และ (4)
โครงการผลิตผ้าพิมพ์ลายจากพืช เป็นงานบูรณาการของสาขาวิชาเทคโนโลยีการเกษตร เทคโนโลยีชีวภาพ ภาควิชาเทคโนโลยีวัสดุ วิทยาการคอมพิวเตอร์ และชีววิทยา โดย ผศ.ดร. หฤษฎ์ นิ่มรักษา ผศ.ดร.สัญญา กุดั่น รศ.ดร. มาฆมาส สุทธาชีพ ผศ.ดร. ธรณ์ธันย์ สว่างวรรณ์ ดร. นวรัตน์ วรอวยชัย นางสาวจีรภา อริยเดช และนายพีรเดช จวบสมัย คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยรามคำแหง ดร.สันทนา นาคะพงศ์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและบริการทางวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ และผศ.ดร. โกวิทย์ น้อยโคตร ผู้จัดการคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหง
ศูนย์วิจัยและบริการทางวิชาการ คณะวิทยาศาสตร์ และคลินิกเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยรามคำแหงได้ดำเนินกิจกรรมร่วมกับชุมชนเกษตรกรรมหลายแห่งในจังหวัดสุโขทัยมาอย่างต่อเนื่อง
โดยเฉพาะงานด้านเกษตรอัจฉริยะ การเพิ่มผลผลิตทางการเกษตร และการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โครงการถ่ายทอดเทคโนโลยีสู่ชุมชนครั้งนี้ได้ดำเนินการประเมินการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและการชดเชยคาร์บอนให้เป็น Carbon Neutral Event ผ่าน Zero Carbon
Application โครงการฯ นี้มีความสำคัญและส่งเสริมการเรียนรู้ตลอดชีวิต เพี่อเพิ่มศักยภาพของชุมชนท้องถิ่นในการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้มีความยั่งยืน และสามารถรองรับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของโลก