บพข. ยกทัพนักวิจัยสนับสนุนการประชุมสัมมนาการท่องเที่ยวเกาะอย่างยั่งยืนประเทศไทย ครั้งที่ 2 ที่เกาะลันตา นำเสนองานวิจัยใช้ได้จริง: Carbon Neutral Tourism - ก้าวใหม่สู่ Net Zero Tourism
ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ผู้เชี่ยวชาญอาวุโส สกสว. และประธานอนุกรรมการแผนงานการท่องเที่ยวและเศรษฐกิจสร้างสรรค์ บพข. พร้อมคณะนักวิจัยร่วมสนับสนุนการประชุมสัมมนาการท่องเที่ยวเกาะอย่างยั่งยืนประเทศไทย ครั้งที่ 2 ณ หาดคลองดาว อำเภอลันตา จังหวัดกระบี่ ระหว่างวันที่ 6-8 มิถุนายน 2567
ภายใต้แนวคิด “ผนึกพลังคุณค่า สร้างมูลค่าใหม่ของเกาะไทย” เนื่องในวันมหาสมุทรโลก ด้วยความร่วมมือของประชาคมชาวเกาะ จำนวน 33 เกาะ ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่าย จำนวน 31 องค์กร โดย ผู้ช่วยศาสตราจารย์สุภาวดี โพธิยะราช ร่วมเวทีเสวนา "ยุทธการเขย่าเกาะ ผนึกพลังคุณค่า สู่มูลค่าใหม่ของเกาะไทย" และนำเสนอเรื่อง การท่องเที่ยวเกาะคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ ซึ่งดำเนินงานร่วมกับเครือข่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ และพัฒนาเส้นทางการท่องเที่ยวคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์ (CNT Routes) 183 เส้นทาง ที่สามารถขายได้ในตลาดต่างประเทศ
โดยมีรูปแบบการรับรองตนเอง/มีส่วนร่วมกับคู่ค้าที่ได้รับการยอมรับในระดับสากล และจัดทำ Zero Carbon Application (PCR บริการท่องเที่ยว) ซึ่งมีผู้ใช้งานมากว่า 400 รายต่อเดือน ชดเชยคาร์บอนเฉลี่ยเดือนละ 31.5 tCO2eq (ข้อมูล พ.ย. 66 - พ.ค. 67) สนับสนุนการขายคาร์บอนเครดิตขนาดเล็กสำหรับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว (ตลาดคาร์บอนไทย) ขับเคลื่อนพื้นที่ 23 เกาะให้เป็น CNT Destination แบ่งเป็นเกาะในฝั่งทะเลอันดามัน 9 เกาะ ได้แก่ เกาะลันตา เกาะคอเขา เกาะพระทอง เกาะยาวใหญ่ เกาะยาวน้อย เกาะปู เกาะจัม เกาะศรีบอยา เกาะลิบง และเกาะในฝั่งอ่าวไทย 14 เกาะ คือ เกาะกุลา เกาะรางบันทัด เกาะมัดหวายใหญ่ เกาะรังกาจิว เกาะกระเต็น เกาะพะลวย เกาะเต่า เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะช้าง เกาะกูด เกาะหมาก เกาะหวาย เกาะระยั้ง รวมทั้งการเปลี่ยนผ่านจาก Carbon Neutral Tourism - มุ่งสู่ Net Zero Tourism สำหรับผู้ร่วมเวทีเสวนาท่านอื่น